ค้นหา

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

คาร์โบไฮเดรต

  คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )
     คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกายประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H)  และออกซิเจน (O) เป็นธาตุหลักโดยมีอัตราส่วนระหว่าง H:O เป็น 2:1 เช่นเดียวกับโมเลกุลของน้ำ ( H2 O) จึงได้ชื่อว่า คาร์โบไฮเดรต "คาร์โบ" มาจากภาษาละติน หมายถึง 
คาร์บอน "ไฮเดรต" เป็นภาษากรีก หมายถึง น้ำ คาร์โบไฮเดรต มีสูตรทางเคมีโดยทั่วไป คือ Cx H2n On เช่น C6 H12 O6 เป็นต้น 
     คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ประชากรทั้งโลกได้รับอย่างเหลือเฟือประมาณ 70 - 90 % ของสารอาหารทั้งหมด ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์แสง
( Photosynthesis) ของพืช ได้แก่ แป้ง และน้ำตาล
  ประเภทของคาร์โบไฮเดรต   
สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ
ก) โมโนแซ็กคาไรต์   (monosaccharides) หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นน้ำตาลที่มีโมเลกุลเล็กที่สุดเมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถดูดซึ่มไปใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย ตัวอย่างน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น
 -กลูโคส (Glucose) หรือ เดกซ์โทรส (Dextrose) มีสูตรทางเคมี เป็น C6 H12 Oเป็นน้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ พบมากในผัก ผลไม้บางชนิด เช่น องุ่น เผือก มันเทศ หัวหอม ข้าวโพด เป็นต้น โดยปกติในกระแสเลือดจะมีกลูโคสร้อยละ 0.08 และมีร้อยละ 0.2 ในปัสสาวะ ถ้ามีมากกว่านี้ จำทำให้เกิด โรคเบาหวาน ( Diabetes Militus) 
-ฟรุกโทส ( Fructose) หรือ เลวูโลส (Levulose) มีสูตรทางเคมี C6 H12 O6  เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีรสหวานมากที่สุด พบมากในน้ำผึง น้ำหวานเกสรดอกไม้ น้ำหล่อเลี้ยงอสุจิ และผลไม้บางชนิดที่มีรสหวาน
-กาแลกโทส ( Galactose) มีสตรทางเคมี C6 H12 O6 เป็นน้ำตาลที่ไม่มีในธรรมชาติร่างกายได้รับ กาแลกโทส จากการสลายตัวของน้ำตาลแลกโทส (Lactose ) ซึ่งเป็นน้ำตาลพบมากในน้ำนม
   จะเห็นว่าน้ำตาล กลูโคส ฟรุกโทส และกาแลกโทส มีสูตรโมเลกุล เหมือนกันคือ C6 H12 O6 แต่จะต่างกันที่สูตรโครงสร้างทางเคมี  


คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
 

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเภทของสารอาหาร

สารอาหารที่ร่างกายต้องการแบ่งเป็น 6 ประเภท
1.คาร์โบไฮเดรต(Carbohydarate)

2.ไขมัน(Lipid or Far)

3.โปรตีน(Protein)

4.วิตามิน(Vitamin)

5.เกลือแร่ (Mineral Salt)

6.น้ำ (Water)

สารอาหารพวก คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
สารอาหารพวก วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ก็มีประโยชน์จ่อร่างกาย คือช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และทำหน้าที่ร่วมกับเอนไซม์ (Co - enzyme) ในการย่อยอาหาร


ประโยชน์ของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
1. ช่วยให้ร่างการเจริญเติบโต
2.ช่วยซ่อมแซมส่วนที่ึสึกหรอ โดยนำไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
3.ช่วยให้ได้พลังงานและความอบอุ่น ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะภายใน
4.ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน
5.ช่วยควบคุมปฏิกิริยาเคมีต่างๆในร่างกาย และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน 

คุณค่าของอาหาร

คุณค่าของอาหาร


  คนเราทุกคนเมื่อเกิดมา  สิ่งหนึ่งที่หนีไม่พ้นคือการกิน  อาหารการกินจึงเป็นเรื่องสำคัญ กินอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์ หรือได้คุณค่ามากที่สุด กินอย่างไรจึงจะไม่เกิดโทษ  หรืออันตรายต่อร่างกาย ซึ่งอาหารแต่ละชนิด จะมีคุณค่าที่แตกต่างกัน ให้พลังงาน หรือมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างการยที่ต่างกัน การศึกษาในเรื่องอาหารการกิน จึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่มีการ กินดี ก็ย่อมจะมีการดำรง อยู่ ของชีวิตที่ดี ตามไปด้วย


      คำว่า "กินดี" หมายถึง การรู้จักบริโภคอาหารที่ถูกต้อง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้ประเภทของสารอาหารในหนึ่งมื้อครบตามส่วนไม่มากเกินไป หรือน้อยจนเกินไป
      คำว่า "อยู่" หมายถึงการจัดการที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ มีการพักผ่อนที่เพียงพอ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สดชื่นรื่นเริง ไม่เป็นคนหงุดหงิด
      ฉะนั้นบุคคลที่เป็นคนที่ "กินดีอยู่ดี" จะเป็นผู้ที่มีการดำรงชีวิตในสังคมด้วยความสุข ปราศจากโรคภัยทั้งปวง มีพลานามัยสมบูรณ์ มีจิตใจผ่องใส ไม่ขุ่นมัว


      อาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่มนุษย์เราต้องใช้ในการดำรงชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาว่าในอาหารแต่ละชนิดนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง  มีบทบาทและความจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร  หรือมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง  เมื่อร่างกายได้รับไม่เพียงพอ

     อาหาร (Food) คือสิ่งที่นำเข้าสู่ร่างกาย แล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต มีหลังงานในร่างกาย และช่วยแซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ


     สารอาหาร (Nutrient) คือโมเลกุลของสารสิ่งที่สิ่งมีชีวิตนำไปใช้ในการดำรงชีพได้

     โภชนาการ หรือ โภชนศาสตร์ หรือ อาหารวิทยา (Nutrition) คือศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยคุณค่า ประโยชน์ และความสำคัญของสารอาหารที่มีต่อร่างกายมนุษย์