ค้นหา

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

คาร์โบไฮเดรต

  คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )
     คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกายประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H)  และออกซิเจน (O) เป็นธาตุหลักโดยมีอัตราส่วนระหว่าง H:O เป็น 2:1 เช่นเดียวกับโมเลกุลของน้ำ ( H2 O) จึงได้ชื่อว่า คาร์โบไฮเดรต "คาร์โบ" มาจากภาษาละติน หมายถึง 
คาร์บอน "ไฮเดรต" เป็นภาษากรีก หมายถึง น้ำ คาร์โบไฮเดรต มีสูตรทางเคมีโดยทั่วไป คือ Cx H2n On เช่น C6 H12 O6 เป็นต้น 
     คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ประชากรทั้งโลกได้รับอย่างเหลือเฟือประมาณ 70 - 90 % ของสารอาหารทั้งหมด ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์แสง
( Photosynthesis) ของพืช ได้แก่ แป้ง และน้ำตาล
  ประเภทของคาร์โบไฮเดรต   
สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ
ก) โมโนแซ็กคาไรต์   (monosaccharides) หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นน้ำตาลที่มีโมเลกุลเล็กที่สุดเมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถดูดซึ่มไปใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย ตัวอย่างน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น
 -กลูโคส (Glucose) หรือ เดกซ์โทรส (Dextrose) มีสูตรทางเคมี เป็น C6 H12 Oเป็นน้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ พบมากในผัก ผลไม้บางชนิด เช่น องุ่น เผือก มันเทศ หัวหอม ข้าวโพด เป็นต้น โดยปกติในกระแสเลือดจะมีกลูโคสร้อยละ 0.08 และมีร้อยละ 0.2 ในปัสสาวะ ถ้ามีมากกว่านี้ จำทำให้เกิด โรคเบาหวาน ( Diabetes Militus) 
-ฟรุกโทส ( Fructose) หรือ เลวูโลส (Levulose) มีสูตรทางเคมี C6 H12 O6  เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่มีรสหวานมากที่สุด พบมากในน้ำผึง น้ำหวานเกสรดอกไม้ น้ำหล่อเลี้ยงอสุจิ และผลไม้บางชนิดที่มีรสหวาน
-กาแลกโทส ( Galactose) มีสตรทางเคมี C6 H12 O6 เป็นน้ำตาลที่ไม่มีในธรรมชาติร่างกายได้รับ กาแลกโทส จากการสลายตัวของน้ำตาลแลกโทส (Lactose ) ซึ่งเป็นน้ำตาลพบมากในน้ำนม
   จะเห็นว่าน้ำตาล กลูโคส ฟรุกโทส และกาแลกโทส มีสูตรโมเลกุล เหมือนกันคือ C6 H12 O6 แต่จะต่างกันที่สูตรโครงสร้างทางเคมี  


คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น